Syllabus & Belt Rank


หลักสูตรการฝึก 
หลักสูตรการฝึกของ มู มู กวัน ฮับกิโด (ประเทศไทย) จะแบ่งการฝึกออกเป็น 10 หัวข้อหลัก ได้แก่
1. การล้ม เป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองจากการกระแทกพื้นอย่างแรงให้เบาลง และลดการบาดเจ็บจากการถูกจับหักบิดข้อต่อต่างๆ ได้ 
2. การม้วน เป็นการฝึกร่างกายให้เกิดความยืดหยุ่น ความคล่องแคล่วว่องไว และความแข็งแรง และนำไปใช้แก้ปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งในวิชาฮับกิโดยังรวมเอาท่ายิมนาสติกพื้นฐานเข้าไปด้วย 
3. การเพิ่มสรรถภาพทางร่างกาย เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความแข็งแกร่งและความสมดุลของร่างกาย 
4. การปัดป้อง เป็นการฝึกเพื่อให้สามารถใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ในการป้องกันและรับการโจมตีในรูปแบบต่างๆ 
5. การโจมตี เป็นการฝึกให้สามารถใช้อวัยวะส่วนต่างๆ เช่นมือ, เท้า, เข่า, ศอก เป็นอาวุธในการโจมตีเป้าหมาย
6. การจับหักและควบคุม เป็นการฝึกทักษะการป้องกันตัวโดยการหักและควบคุมข้อต่อต่างๆ เช่น นิ้ว,ข้อมือ, ข้อศอก, หัวไหล่,ข้อเท้า เป็นต้น
7. การทุ่ม เป็นการฝึกทักษะการทุ่มในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในระยะประชิดตัว 
8. การหายใจ เป็นการฝึกรวบรวมพลังในร่างกายเพื่อนำมาใช้ในทักษะต่างๆให้มีพลังความรุนแรงเพิ่มขึ้น ยังช่วยฝึกควบคุมสติตนเองได้ดี 
9. ท่ารำแบบแผน เป็นการฝึกจินตนาการการใช้ท่าทางต่างๆในการต่อสู้ รวมถึงฝึกสมาธิ และความสมดุลของร่างกาย 
10. การใช้อาวุธ เป็นการฝึกการนำอาวุธต่างๆมาใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น พลอง กระบองสองท่อน เป็นต้น

     โดยแบ่งการฝึกตามระดับขั้นสาย
     มู มู กวัน ฮับกิโด ประเทศไทย จะแบ่งระดับขั้นสายเป็น 2 กลุ่มคือ
      ระดับสายสี แสดงคุณวุฒิในระดับพื้นฐาน
      1. ไม่มีขั้นสาย : สายขาว (ผู้เริ่มต้นฝึก)
      2. รองสายดำขั้นที่ 8 : สายเหลือง
      3. รองสายดำขั้นที่ 7 : สายเขียว
      4. รองสายดำขั้นที่ 6 : สายฟ้า
      5. รองสายดำขั้นที่ 5 : สายน้ำตาล
      6. รองสายดำขั้นที่ 4 : สายม่วง
      7. รองสายดำขั้นที่ 3 : สายส้ม
      8. รองสายดำขั้นที่ 2 : สายแดง
   9. รองสายดำขั้นที่ 1 : สายแดง-ดำ
 
   ระดับสายดำ แสดงคุณวุฒิในระดับสูง ภายใต้การรับรองจากสำนักใหญ่ มู มู กวัน ฮับกิโดโลก และสมาพันธ์ฮับกิโดนานาชาติ สามารถสอบใบอนุญาตผู้ฝึกสอนได้ มีทั้งหมด 9 ขั้น ตั้งแต่สายดำขั้นที่ 1 ถึง ขั้นที่ 9